
ความเป็นมาของผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์”
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทมัดหมี่ และประเภทผ้ายก, จก, ขิด, แพรวา ที่ทรงออกแบบขึ้นเนื่องในโอกาสที่ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปกรรมศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตรากรณ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายที่ปรากฏในศิลปกรรมไทย และผืนผ้าโบราณ ทรงนำมาออกแบบต่อยอด ให้มีความร่วมสมัยและสื่อถึงเอกลักษณ์อันงดงามของชาติไทย
พระราชทานผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” แก่ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรมไทย เพื่อนำไปถักทอผืนผ้าและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมด้วยการผสมผสานกับลวดลายโบราณในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นการฟื้นฟูภูมิปัญญาแห่งอดีต ยกระดับมาตรฐาน และเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสรรค์ผืนผ้าและงานหัตถกรรมในทุกมิติ ด้วยการออกแบบตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน

ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ามัดหมี่
พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เอกลักษณ์ของผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์ ประเภทผ้ามัดหมี่
🔸ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ามัดหมี่ เป็นลวดลายที่ออกแบบมาเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ไทยผ่านศิลปะแห่งการทอผ้า โดยมีองค์ประกอบหลักดังนี้
- ลวดลายอันประณีตและมีความหมายลึกซึ้ง
ลายดอกพุดตาน แสดงถึงความรุ่งเรืองและความงามของศิลปวัฒนธรรมไทย
ลายเฟื่องอุบะ สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคล
ลายขอเจ้าฟ้าฯ 2568 เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลายผ้าพระราชทานชุดนี้ - การผสมผสานลวดลายโบราณกับแนวคิดร่วมสมัย
ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์ ถูกออกแบบให้สอดประสานระหว่างลวดลายโบราณที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาคของไทยกับองค์ประกอบที่ทันสมัย ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายโอกาส ทั้งในเชิงแฟชั่นและงานหัตถศิลป์ - การทอผ้าด้วยเทคนิคผ้ามัดหมี่อันวิจิตร
ประเภทผ้ามัดหมี่เป็นหนึ่งในเทคนิคการทอผ้าไทยที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของช่างทอในการมัดและย้อมเส้นด้ายให้เกิดลวดลายที่สวยงามและคมชัด ผ้าลายพระราชทานชนิดนี้จึงเป็นผลงานที่สะท้อนถึงฝีมือช่างทอไทยอย่างแท้จริง
ความสำคัญของผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์ต่อวงการผ้าไทย
- ฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปะการทอผ้าไทย
ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ถือเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าไทยให้คงอยู่ โดยการนำลวดลายไทยโบราณมาประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดกระแสการอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าไทยในระดับประเทศ - เพิ่มคุณค่าและยกระดับมาตรฐานผ้าไทยสู่ระดับสากล
การออกแบบลายผ้าให้มีเอกลักษณ์และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ช่วยให้ผ้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดแฟชั่นและสิ่งทอระดับสากลได้มากขึ้น - สนับสนุนอุตสาหกรรมหัตถกรรมและเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อช่างทอและช่างหัตถกรรมไทยได้รับผ้าลายพระราชทานไปใช้ในงานสร้างสรรค์ของตนเอง ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าไทยได้อย่างยั่งยืน

ที่มาลายต้นแบบ ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ามัดหมี่ https://shorturl.asia/dEuDl

ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ายก, จก, ขิด, แพรวา
พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ที่มาลายผ้าต้นแบบ “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ายก https://shorturl.asia/8LUHl
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด ผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ประเภทผ้ายก, จก, ขิด, แพรวา ได้ที่ https://drive.google.com/…/1_Gb6cWm0IrtuEQorwVMQ…
บรรณาณุกรม
เพจ ผ้าไทยใส่ให้สนุก https://www.facebook.com/phathaisaihaisanook
เว็บไซต์ กรมหม่อนไหม https://qsds.go.th/newocss/ผ้าลายพระราชทาน-ผ้าลาย/
ข้อมูลดังกล่าวจัดทำขึ้น เนื่องในโอกาส จังหวัดพิษณุโลก จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ให้กับช่างทอผ้า กลุ่มทอผ้า และผู้ผลิตผ้าทุกกลุ่มทุกเทคนิค เพื่อนำแบบลายผ้าพระราชทานเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมในทุกภูมิภาค ตลอดจนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมอนุรักษ์ ภูมิปัญญาผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แบบลายผ้าพระราชทานโดยกำหนดจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน ในวันพุธที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๐.๐๐ น ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมจังหวัดพิษณุโลก
เรียบเรียงโดย นายนิรุต แตงบาง นักวิชาการศึกษา