PHITSANULOK
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
จังหวัดพิษณุโลก
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีหลักการมุ่งหมายให้ท้องถิ่นตระหนักและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบดูแลในการอนุรักษ์รักษา ปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับตัวแหล่งศิลปกรรมนั้น มีทั้งที่เสื่อมโทรมตามกาลเวลาและตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ เป็นสาเหตุของการทำลายที่มีความรุนแรง รวดเร็วและเกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ การอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผ่านมาจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ และขาดความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ดังนั้น เจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม คือ การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมให้เป็นระบบโดย 1) ให้มีหน่วยงานดูแลและตรวจสอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาลุกลามเกินกว่าจะแก้ไขได้ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ 2) ให้มีมาตรการควบคุมการใช้พื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม และประสานประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยส่วนรวม โดยการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 3) ให้การศึกษาอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ 4) ให้มีการบันทึก จัดเก็บข้อมูล โดยการจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและแหล่งชุมชนโบราณ
สาระสำคัญแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนทุกระดับในท้องถิ่นตระหนัก และมีความเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2527 ได้กำหนดให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดต่างๆ ซึ่งจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นขึ้นในแต่ละศูนย์วัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ ให้สถาบันการศึกษาซึ่งมีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม และแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ประชาชน เป็นผู้ปกป้อง ดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและของชาติ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน
เนื่องจากในแต่ละจังหวัด นอกจากจะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีแหล่งมรดกทางธรรมชาติอันควรอนุรักษ์มากมายหลายแหล่ง ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ด้วย เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวเนื่อง และเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแหล่งศิลปกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2532 -2534 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ปรับปรุงองค์กรระดับจังหวัดทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัด ให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประกอบกับในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาระบบราชการโดยมุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งการบริหารจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545, 30 มกราคม 2546 และ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ตามลำดับ ซึ่งได้เห็นชอบให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงได้ปรับชื่อให้เหมาะสม เป็น หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น (Local Units for Conservation of Natural and Cultural Environment : LUCNCE)
สาระสำคัญแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนทุกระดับในท้องถิ่นตระหนัก และมีความเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2527 ได้กำหนดให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดต่างๆ ซึ่งจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นขึ้นในแต่ละศูนย์วัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ ให้สถาบันการศึกษาซึ่งมีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม และแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ประชาชน เป็นผู้ปกป้อง ดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและของชาติ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน
เนื่องจากในแต่ละจังหวัด นอกจากจะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีแหล่งมรดกทางธรรมชาติอันควรอนุรักษ์มากมายหลายแหล่ง ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ด้วย เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวเนื่อง และเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแหล่งศิลปกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2532 -2534 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ปรับปรุงองค์กรระดับจังหวัดทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัด ให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประกอบกับในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาระบบราชการโดยมุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งการบริหารจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545, 30 มกราคม 2546 และ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ตามลำดับ ซึ่งได้เห็นชอบให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงได้ปรับชื่อให้เหมาะสม เป็น หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น (Local Units for Conservation of Natural and Cultural Environment : LUCNCE)