PHITSANULOK

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

จังหวัดพิษณุโลก

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม   มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

8ย่านชุมชนเก่าจังหวัดพิษณุโลก
ภูมินามกับสิ่งแวดล้อม อ.ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
5 แหล่งผลิตเกลือโบราณ จังหวัดพิษณุโลก

ความเป็นมา

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527 เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยมีหลักการมุ่งหมายให้ท้องถิ่นตระหนักและทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบดูแลในการอนุรักษ์รักษา ปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับตัวแหล่งศิลปกรรมนั้น มีทั้งที่เสื่อมโทรมตามกาลเวลาและตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ เป็นสาเหตุของการทำลายที่มีความรุนแรง รวดเร็วและเกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ การอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ผ่านมาจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ และขาดความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ดังนั้น เจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม คือ การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมให้เป็นระบบโดย 1) ให้มีหน่วยงานดูแลและตรวจสอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาลุกลามเกินกว่าจะแก้ไขได้ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ 2) ให้มีมาตรการควบคุมการใช้พื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม และประสานประโยชน์แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยส่วนรวม โดยการประกาศเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 3) ให้การศึกษาอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ 4) ให้มีการบันทึก จัดเก็บข้อมูล โดยการจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและแหล่งชุมชนโบราณ

สาระสำคัญแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนทุกระดับในท้องถิ่นตระหนัก และมีความเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2527  ได้กำหนดให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดต่างๆ ซึ่งจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นขึ้นในแต่ละศูนย์วัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ ให้สถาบันการศึกษาซึ่งมีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม และแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ประชาชน เป็นผู้ปกป้อง ดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและของชาติ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน

เนื่องจากในแต่ละจังหวัด นอกจากจะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีแหล่งมรดกทางธรรมชาติอันควรอนุรักษ์มากมายหลายแหล่ง ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ด้วย เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวเนื่อง และเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแหล่งศิลปกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2532   -2534 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ปรับปรุงองค์กรระดับจังหวัดทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัด ให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประกอบกับในปี  พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาระบบราชการโดยมุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งการบริหารจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม  ดังนั้น  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545, 30 มกราคม 2546 และ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ตามลำดับ ซึ่งได้เห็นชอบให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงได้ปรับชื่อให้เหมาะสม เป็น หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น (Local Units for Conservation of Natural and Cultural Environment : LUCNCE)

สาระสำคัญแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนทุกระดับในท้องถิ่นตระหนัก และมีความเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2527  ได้กำหนดให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดต่างๆ ซึ่งจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นขึ้นในแต่ละศูนย์วัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ ให้สถาบันการศึกษาซึ่งมีอยู่แล้วทุกจังหวัดในท้องถิ่น มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม และแหล่งธรรมชาติ รวมถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และเพื่อให้เป็นหน่วยติดตามตรวจสอบดูแล ป้องกัน โดยให้ประชาชน เป็นผู้ปกป้อง ดูแลรักษาสมบัติของท้องถิ่นและของชาติ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน

เนื่องจากในแต่ละจังหวัด นอกจากจะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีแหล่งมรดกทางธรรมชาติอันควรอนุรักษ์มากมายหลายแหล่ง ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ด้วย เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวเนื่อง และเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแหล่งศิลปกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2532   -2534 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ปรับปรุงองค์กรระดับจังหวัดทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัด ให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประกอบกับในปี  พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาระบบราชการโดยมุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งการบริหารจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม  ดังนั้น  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545, 30 มกราคม 2546 และ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ตามลำดับ ซึ่งได้เห็นชอบให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จึงได้ปรับชื่อให้เหมาะสม เป็น หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น (Local Units for Conservation of Natural and Cultural Environment : LUCNCE)

การบริหารงานของหน่วยอนุรักษ์ฯ

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จำนวน 76 หน่วย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ปัจจุบันตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 29 แห่ง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 2 แห่ง โรงเรียน 42 แห่ง และสถาบันการพลศึกษา 3 แห่ง การปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นมีลักษณะเป็นการประสานงานในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยมีคณะกรรมการประจำหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นอยู่ในหน่วยอนุรักษ์ฯทุกหน่วย ซึ่งเป็นการดำเนินงานในลักษณะของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิใช่เป็นการดำเนินงานโดยเอกเทศ

คณะกรรมการประจำหน่วยอนุรักษ์ฯ

มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.ประธานกรรมการ (ผู้บริหารสถาบันการศึกษา 1 คน) 2.รองประธานกรรมการ (1 คน) 3.กรรมการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนารักษ์พื้นที่ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานศิลปากรที่รับผิดชอบในพื้นที่ ฯลฯ (5 คน) 4.ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น ( คน) ที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในแขนงวิชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้มีจำนวนกรรมการตามความเหมาะสมโดยมีสัดส่วนเท่ากัน 5.ฝ่ายเลขานุการฯ (หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์ฯ และเจ้าหน้าที่ 2 คน)

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยอนุรักษ์ฯ

เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1) เสนอแผนงาน/โครงการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ให้เป็นไปตามแผนงานของแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม 2) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานต่างๆ และหาวิธีการแก้ไขป้องกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ 3) เสนอแนะแนวทางและมาตรการอนุรักษ์ ป้องกัน รักษา คุ้มครองและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่ที่มีแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ในท้องถิ่นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 4) ประสาน ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 5) พิจารณาและเสนอแนะการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาในท้องถิ่นทุกระดับให้มีเรื่องการอนุรักษ์ และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 6) ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และ ควบคุม กำกับ การบริหารงานและงบประมาณให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 7) ให้การอบรม ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์แก่ประชาชนและเครือข่ายในระดับท้องถิ่น

บทบาทหน้าที่ของหน่วยอนุรักษ์ฯ

บทบาท หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงาน และประสานงานทางด้านวิชาการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หน้าที่หลัก 1) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ และสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม 2) ศึกษา รวบรวม บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม โดยการวิเคราะห์และประเมิน สถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม และให้ส่งข้อมูล รวมทั้ง รายงานสถานการณ์ไปยังศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมและแหล่งชุมชนโบราณ สผ. 3) สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นอย่างถูกวิธี เป็นระบบ เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพที่อยู่โดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม และโดดเด่นเฉพาะตัว ตลอดจนช่วยเหลือประสานงานและสนับสนุนให้มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมหรือเครือข่ายในชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายในท้องถิ่นให้สามารถดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4) ติดตาม ตรวจสอบ ควบคุม ดูแล สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่รับผิดชอบ และพื้นที่อื่นๆ ในกรณีที่ไม่มีหน่วยอนุรักษ์ฯ ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ 5) ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ในระดับท้องถิ่น หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จึงเป็นองค์กรในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ โดยมีระบบการบริหาร รวมทั้งการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน การดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นที่ เป็นการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการ และมิได้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นแต่อย่างใด

ทิศทางการดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์ฯ

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ทั้ง 76 จังหวัด จะมีทิศทางการดำเนินงานในรูปแบบเดียวกัน ประกอบด้วย การอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา ประสานงาน ติดตามและตรวจสอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การอนุรักษ์ 1) ดูแลตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ในท้องถิ่น เพื่อป้องกันมิให้ถูกบุกรุก ทำลาย เสียหาย เสื่อมโทรม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาชนในพื้นที่ 2) เก็บรวบรวมและจัดทำข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ตลอดจน สภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ ประกอบด้วย สภาพปัจจุบัน ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น และส่งรายงานให้ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และแหล่งชุมชนโบราณ สผ. 3) ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และแหล่งศิลปกรรมที่อยู่ในท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยสอดส่องดูแล ตัวอย่างกรณี วัดที่มีความเก่าแก่ และสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรือเป็นแหล่งศิลปกรรมอันควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้นำในการดำเนินงานที่เหมาะสมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของวัดที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ โดยการจัดระเบียบและรักษาสภาพแวดล้อมความเป็นของแท้ดั้งเดิมของตัวศิลปกรรมหรือโบราณสถานที่มีอยู่ไว้ให้มากที่สุด ควรกำหนดเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ให้ชัดเจน และมีระยะห่างที่เหมาะสม การสร้างอาคารใหม่ไม่ควรประชิดกับอาคารเก่า หรือโบราณสถานเดิมที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในวัดให้มากขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้เกิดบรรยากาศความเป็นธรรมชาติ สงบ และร่มเย็น เป็นต้น 2. การส่งเสริม 1) สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ในแต่ละท้องถิ่นอย่างถูกวิธี เป็นระบบ และเหมาะสมตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ 2) สนับสนุนให้มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น หรือขยายเครือข่ายในแต่ละชุมชน เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีสำนึกในการเป็นเจ้าของสมบัติของชาติ ร่วมกันในการปกป้อง คุ้มครอง ดูแล รักษาและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 3. การพัฒนา 1) ผลักดันให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นงานส่วนหนึ่งของการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมประชาชนในท้องถิ่น ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประสานประโยชน์สูงสุด ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติในอนาคต 2) ประสานในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ร่วมกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้แผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น และแผนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง 3) พิจารณากลั่นกรองโครงการพัฒนาหรือกิจกรรม ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ ซึ่งคาดว่าอาจมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน หรือมิได้มีการวางแผนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ก่อน ให้นำเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด พิจารณา และแจ้งผลการดำเนินงานให้ สผ. ทราบ หรือให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ 4. การประสานงาน 1) หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น และสำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด ควรจัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง และส่งรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ทุกครั้งให้ สผ. เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ส่งให้ สผ. เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นประจำปี 3) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม 5. การติดตามตรวจสอบ 1) หากตรวจพบหรือทราบข้อมูลที่ตั้งแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งศิลปกรรมอันควรค่าแก่การอนุรักษ์กำลังจะถูกบุกรุก หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่จะถูกทำลายให้เกิดความเสียหายและหมดสภาพ โดยคาดว่าแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งศิลปกรรมนั้น อาจได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรนำประเด็นปัญหาและแนวทางป้องกันแก้ไขเสนอต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันภายในจังหวัด เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และตัวแทนประชาชน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแก้ไข และป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นวิธีการดำเนินงานที่สามารถระงับต้นเหตุของปัญหาได้ทันเหตุการณ์ 2) การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ควรศึกษา วิเคราะห์ สาเหตุของปัญหาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมรายละเอียดข้อมูลในเบื้องต้น ให้ได้ข้อสรุปและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสมทางด้านวิชาการ สามารถนำไปสู่การขั้นตอนในการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ประจำจังหวัด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามกระบวนการบริหารงานระดับจังหวัดสัมฤทธิ์ผล

ติดตามข่าวสารหน่วยอนุรักษ์ฯ

facebook หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก
Scroll to Top