ศูนย์ศึกษาเอกสารโบราณภาคเหนือตอนล่าง

ที่มาของศูนย์ศึกษาเอกสารโบราณภาคเหนือตอนล่าง

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

            สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (เดิมคือวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม) นั้นถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียง สมัยอดีตผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เห็นคุณค่าของเอกสารวรรณกรรมท้องถิ่นต่าง ๆ จึงออกสำรวจและรวบรวมเอกสารเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่ปรากฏตามวัดทั้งในจังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียงเพื่อเป็นการสืบสาน รักษา อนุรักษ์ มิให้ภูมิปัญญาของคนโบราณสูญสิ้นไปตามกาลเวลา โดยใน พ.ศ. 2525 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ พฤกษะวัน ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ในสมัยนั้นได้เป็นผู้นำในการสำรวจเอกสารท้องถิ่นพิษณุโลกและใกล้เคียง ซึ่งรวบรวมได้เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นใบลาน สมุดไทยขาว-ดำ สมุดข่อย สมุดฝรั่ง บันทึกในรูปแบบของอักษรไทย อักษรขอม และอักษรธรรมล้านนาบางส่วนโดยบันทึกทั้งในรูปแบบภาษาไทยและบาลีซึ่งเป็นการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม ตำรายา กฎหมาย บันทึกทั่วไป โดยเอกสารเหล่านี้ล้วนมีอายุอย่างต่ำคือ 60 ปี (สมัย พ.ศ. 2526) โดยคณะกรรมการทำงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้ทำสำเนาไมโครฟิล์มไว้จำนวนหนึ่งและปริวรรตเป็นภาษาไทยบ้างในบางฉบับ เช่น นิราศเมืองหล่ม พระมาลัย สวัสดิรักษา ศรีสวัสดิวัตร เป็นต้น และหลังจากนั้นเอกสารโบราณต้นฉบับเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ในสำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ มาตั้งแต่นั้น

            เมื่อ พ.ศ. 2557 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาทำการดูแลรักษาเอกสารโบราณเหล่านี้บางส่วนด้วยวิธีการอนุรักษ์เอกสารโบราณพร้อมทั้งจัดทำทะเบียนเพิ่มเติมจากอดีต แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จทั้งหมดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 สำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ภายใต้การนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ในขณะนั้น) มีความคิดที่จะฟื้นฟูเอกสารโบราณเหล่านี้ จึงได้ตั้งคณะกรรมการทำงานปริวรรตเอกสารโบราณเหล่านี้ โดยพบว่า เอกสารเหล่านี้ล้วนบันทึกภูมิปัญญาสำคัญของคนในท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมากจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดดังเจตนารมณ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม…

            เอกสารโบราณในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่ปรากฏจำนวนมาก คือ ตำรายา นิยมบันทึกลงในสมุดไทยขาว ขนาด 40 cm x 15 cm. หมึกดำ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับตำรับยาต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาโรค โดยมักปรากฏพร้อมกับพวกตำราดูฝีประเภทต่าง ๆ ตำรายันต์ ตำนานนิทานพื้นบ้าน โหราศาสตร์ เป็นต้น ส่วนใหญ่บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย อักษรขอม ภาษาบาลี (คาถาบริกรรม ยันต์) การวางสระและพยัญชนะนั้นมักไม่เป็นรูปแบบชัดเจนเหมือนปัจจุบัน โดยตำรายาที่ปรากฏจำนวนมากเหล่านี้ส่วนใหญ่จะระบุวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ไข้ประเภทต่าง ๆ อาการท้องเสีย โรคมะเร็งที่เกิดบนผิวหนังต่าง ๆ (โรคผิวหนังประเภทต่าง ๆ) โรคที่เรียกว่า ไข้กาฬ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย-หญิง (มุตกิด ทุดทะคาต) เป็นต้น…

            1. กานต์ธีรา จางตระกูล, กุลศรม์ เวชกุล, อาภาภัทร ธนะบุญ, และ ภัครพล แสงเงิน. (2563). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดท่านา ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “พิพิธวิจัย วิจิตรวิทยา ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2562” สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (167-179). พิษณุโลก: สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

            2. กานต์พิชชา แข่งขัน, นิตยา วงศ์รักษ์, อัญชลีพร  เพ็ชรน้อย, และ ภัครพล  แสงเงิน. (2566). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทยวัดพรหมพิราม ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 9(1), 72-104.

            3. เกศินี แก้วนิล, นิสิต เมฆแจ้ง, เพ็ญพิชชา พรมแตง, และ ภัครพล แสงเงิน. (2563). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสระไม้แดง ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ศิลป์พิบูล, 2(2), 1-15.

            4. ขจีพรรณ ศรีฟอง, ณัฐกานต์ นาคพรม, สุกัญญา พาชื่นใจ, ภีมพศ รอดยิ้ม, และ ภัครพล แสงเงิน. (2566). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทยวัดกรับพวงเหนือ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. อักษราพิบูล, 4(1), 47-62.

            5. ชลิตา สอนจันทร์, ศิริวรรณ เพ็ชรมณี, อัจฉราภรณ์ ใจแก้ว, และ ภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสันติกาวาส อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (4020-4034). มหาวิทยาลัยพะเยา: พะเยา.

            6. ณัฐมล พรมรอด, นิตยา ทองย้อย, ภัชรีย์ญา อ่วมอิ่มพืช, ธนศักดิ์ จันทร์สดใส, และ ภัครพล แสงเงิน. (2564). รูปแบบการเขียนชื่อพืชวัตถุในตำรายาวัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0264. อักษราพิบูล, 2(2), 57-82.

            7. นันทรัตน์ ยอดกระโหม, สาวิตรี แก้วเกตุ, และ ภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (4035-4048). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

            8. ปาลิตา ทองเพล, พรนภา ตันกายา, สรัญรัตน์ ทอดเสียง, สุมลทรา พ้นเวร, และ ภัครพล  แสงเงิน. (2565). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทยวัดจูงนาง ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. ภาษาและวรรณคดีไทย 39(2), 85-132.

            9. พอฤทัย ปัญญาจักร์, มณฑาทิพย์ บุญแก้ว, และ ภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสะพานหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (3645-3657). มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา.

            10. มณิสร วังคีรี, มนัญชยา วันเย็น, วรรณภาพร โฮกชาวนา, และ ภัครพล แสงเงิน. (2562). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดนครชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัยครั้งที่ 8 วันที่ 24-25 มกราคม 2562 (2134-2142). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

            11. สิริขวัญ สุทธิสน, ธนากร จิวสุวรรณ, วีรพล จำปาทอง, และ ภัครพล แสงเงิน. (2562). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสุนทรประดิษฐ์ ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัยครั้งที่ 8 วันที่ 24-25 มกราคม 2562 (2147-2161). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

            12. ภัครพล แสงเงิน, และ กังวล คัชชิมา. (2563). แนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำรายาโบราณในไทย. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 39(4), 64-81.

            13. ภัครพล แสงเงิน. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบตำรับยาในตำรายาวัดใหม่พรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลกกับตำรับยาในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง. วารสารไทยคดีศึกษา สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 18(2), 169 – 218.

            14. ภัครพล แสงเงินและอุเทน วงศ์สถิตย์. (2565). ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารไทยศึกษา สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18(1), 29 – 60.

            15. ภัครพล แสงเงิน. (2567ก). ตำรายาแพทย์แผนไทยจังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาต้นฉบับตัวเขียนและสารัตถะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

            16. ภัครพล แสงเงิน. (2567ข). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตำรับยาพอกจากตำรายาแพทย์แผนไทยของจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

            17. ภัครพล แสงเงิน. (2567ค). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดท่านา (6) ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารเลขที่ พส.ข.0267. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

            18. ภัครพล แสงเงิน. (2567ง). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาตำรับยาอายุวัฒนะจากตำรายาแพทย์แผนไทยจังหวัดพิษณุโลก เอกสารเลขที่ พส.ข.0267. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

            ศูนย์เอกสารโบราณภาคเหนือตอนล่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญแห่งการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาของคนภาคเหนือตอนล่างในอดีต เป็นศูนย์การเรียนรู้เอกสารโบราณที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง และพร้อมที่จะเชื่อมโยงข้อมูลกับเครือข่ายการศึกษาเอกสารโบราณภูมิภาคอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

Loading

Scroll to Top