Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ประวัติและผลงาน สุวรรณี สุคนธา

           สุวรรณี สุคนธา เป็นนามปากกาของ สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง นักเขียนผู้มีชื่อเสียงแห่งเมืองพิษณุโลก สุวรรณีเกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2475 ในครอบครัวของนายย้อยและนางแตงอ่อน โดยมีพี่ชายหนึ่งคน

           สุวรรณีเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนผดุงนารี – กวีพิทยา ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่างจนสำเร็จอนุปริญญา และด้วยความรักในศิลปะ เธอได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกจิตรกรรม จากคณะจิตรกรรม-ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

           ชีวิตครอบครัวของสุวรรณีเริ่มต้นขึ้นเมื่อเธอสมรสกับอาจารย์ทวี นันทขว้าง ทั้งคู่มีบุตร-ธิดารวม 4 คน ได้แก่ ดวงตา นันทขว้าง, วงศ์เมือง นันทขว้าง (น้ำพุ – ผู้ล่วงลับ), เลื่อมประภัสสร นันทขว้าง และเบญญา นันทขว้าง ต่อมาในชีวิตสมรสครั้งที่สอง เธอได้แต่งงานกับศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต

           สุวรรณีเริ่มต้นเส้นทางนักเขียนด้วยการเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ “จดหมายถึงปุก” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสารในปี พ.ศ. 2508 โดยใช้นามปากกาว่า “สุวรรณี” ต่อมาจึงได้เปลี่ยนนามปากกาเป็น “สุวรรณี สุคนธา” จากนั้นในปี พ.ศ. 2512 ได้เขียนเรื่องยาวเรื่องแรกชื่อ “สายบ่หยุดเสน่ห์หาย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงานนวนิยายอีกมากมาย เช่น 

           “เขาชื่อกานต์” เป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตผ่านตัวละคร การคอรัปชันที่ผูกโยงกับการเมืองและความเหลื่อมล้ำทางสัมคมที่มีความสมจริง นวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัล สปอ. นวนิยายดีเด่น ในปีพ.ศ. 2513

(ภาพ ปกหนังสือนวนิยาย เขาชื่อกานต์) ที่มาภาพ https://raremeat.blog/เขาชื่อกานต์-1973/

           “พระจันทร์สีน้ำเงิน” นวนิยายที่นำเสนอมุมมองผ่านการผสมผสานระหว่างความเป็นจริง โดยสุวรรณีร้อยเรียงเรื่องราวจากโครงเรื่องชีวิตจริงของน้ำพุลูกชายของเธอ มาผสานกับจินตนาการได้อย่างงดงาม นวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2519 

(ภาพ ปกหนังสือนวนิยาย พระจันทร์สีน้ำเงิน) ที่มาภาพ http://www.khornhangsue-pro.com/product/831/พระจันทร์สีน้ำเงิน-โดย-สุวรรณี-สุคนธา

           “เรื่องของน้ำพุ” ผลงานที่สร้างจากเรื่องจริงของน้ำพุ ลูกชายที่ติดยาเสพติด และเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 18 ปี  เรื่องนี้สะท้อนความรักและความผูกพันระหว่างแม่และลูก และที่สำคัญคือชี้ให้เห็นมหันตภัยร้ายของยาเสพติดด้วย นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จนถึงปัจจุบัน

(ภาพ ปกหนังสือ เรื่องของน้ำพุ ฉบับตีพิมพ์ปี 2517) ที่มาภาพ https://thongsaibook.lnwshop.com/product/5292/เรื่องของน้ำพุ

           นอกจากนี้นวนิยายหลายเรื่องของสุวรรณี สุคนธา ยังได้รับการดัดแปลงเป็บบทภาพยนตร์และบทละครออกอากาศทางโทรทัศน์สถานีต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น 

           “ทองประกายแสด” นวนิยายที่สะท้อนชีวิตของหญิงสาวในสังคมไทย ผ่านตัวละครที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์และความคิด สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมและความขัดแย้งในจิตใจของตัวละคร ได้รับการดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์และบทโทรทัศน์มากถึง 7 ครั้ง ในปี พ.ศ.2517, 2522, 2524, 2531, 2544, 2555 และ 2567

(ภาพ แผ่นประชาสัมพันธ์ละคร ทองประกายแสด พ.ศ.2567 ทางช่อง One31) ที่มาภาพ https://www.one31.net/shows/detail/544

           “คนเริงเมือง” นวนิยายถ่ายทอดชีวิตของพริ้ง งซึ่งเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา โดยไม่เคยสนใจความรู้สึกของคนอื่น ถูกเปรียบเทียบกับช้อยพี่สาวแท้ ๆ ซึ่งทั้งชีวิตมีแต่คำว่าให้ และคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นก่อนเสมอ นอกจากนี้ เนื้อเรื่องยังเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นบทภาพยนต์และบทโทรทัศน์มากถึง 5 ครั้ง ในปี พ.ศ.2523 (2 ครั้ง), 2531, 2454 และ 2560 

(ภาพ แผ่นประชาสัมพันธ์ละคร พริ้ง คนเริงเมือง พ.ศ.2560 ทางช่อง  7) ที่มาภาพ https://www.ch7.com/drama/218768

             “เขาชื่อกานต์” นวนิยายแนวก้าวหน้าวิพากษ์ปัญหาของสังคมไทย เช่น  ปัญหาความยากจน มาเฟียร์หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการคอร์รัปชัน  ผ่านตัวละครหมอ “กานต์” หมอหนุ่มผู้มีอุดมการณ์เพื่อความถูกต้อง หมอกานต์อุทิศตนไปทำงานแพทย์ในชนบท จนเกิดความขัดแย้งกับข้าราชการท้องถิ่น และลงเอยโดยการถูกลอบยิงจนเสียชีวิต นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นบทภาพยนต์และบทโทรทัศน์มากถึง 4 ครั้ง ในปี 2516, 2523, 2531 และ 2554

(ภาพ ภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ ฉายเมื่อปี 2516) ที่มาภาพ https://www.fapot.or.th/main/heritage/view/67

           สุวรรณี ทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสาร “ลลนา” ซึ่งเป็นนิตยสารยอดนิยมในสมัยนั้น และขณะที่งานเขียนของสุวรรณีกำลังโลดแล่นอยู่บนเส้นทางวรรณศิลป์ หรือแม้แต่บนเส้นทางของแผ่นฟิล์ม อย่างเรื่อง “เรื่องของน้ำพุ” ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มีกำหนดฉายในเดือนมิถุนายน 2527

(ภาพ ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ฉายเมื่อปี 2527) ที่มาภาพ https://fapot.or.th/main/heritage/view/71 และ https://www.facebook.com/Entertainretro/photos/a.329022861998669/175864033981220/?type=3

           แต่แล้ววงการวรรณกรรมก็ได้สูญเสียนักเขียนชั้นครูอย่างสุวรรณี สุคนธา ไปเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 ที่นางสุวรรณี สุคนธ์เที่ยง หรือนักเขียนนามปากกา “สุวรรณี สุคนธา” ออกไปจ่ายตลาด  และถูกคนร้ายแทงเสียชีวิต จากนั้นนำศพไปทิ้งไว้บริเวณสนามแข่งรถจักรยานยนต์ หลังหมู่บ้านสวนสยาม ถ.รามอินทรา วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 ตำรวจสามารถตามจับกุมคนร้าย 2 คนได้ คนหนึ่งเป็นชายหนุ่มอายุเพียง 17 ปี  ซึ่งคนร้ายให้การสารภาพว่าต้องการนำเงินไปซื้อยาเสพติด  คดีนี้นับเป็นคดีสะเทือนขวัญของสังคมไทย และเป็นการสูญเสียนักประพันธ์มากฝีมือในแวดวงวรรณศิลป์ด้วย

(ภาพ พาดหัวข่าวจับฆาตกรฆ่าสุวรรณี สุคนธา) ที่มา https://www.facebook.com/RetroCityStoryTelling/photos/a.123120795964755/237940191149481/?type=3

           “อุดมการณ์ที่ประจักษ์ในงานเขียนของสุวรรณี สุคนธา คือจิตใจนักสู้ชีวิตด้วยใจเบิกบาน สูงพ้นความหยาบกระด้าง ความเห็นแก่ตัว เสน่ห์ปากกาของเธอคงอยู่แม้กาลเวลาผ่านเลยไป เพราะเธอสร้างงานด้วยใจศิลป และสำนึกในสิทธิมนุษย์ที่มิได้ถูกพันธนาการด้วยค่านิยมปลอม” นิลวรรณ ปิ่นทอง เขียนถึงสุวรรณี สุคนธา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2527 (หน้า 53) 

           “ผมเคยประทับใจกับสำนวนภาษาของ คุณสุวรรณี สุคนธา ที่มีความละเอียดอ่อน นุ่มนวลเป็นเอกลักษณ์ มาตั้งแต่ ‘สวนสัตว์’ ที่เคยอ่านสมัยเรียนมัธยมและเป็นหนังสือนอกเวลาในวิชาภาษาไทย สำหรับเรื่องนี้ก็เปิดฉากมาด้วยฉากและชีวิตของ จ้อยกับหมึก เด็กน้อยสองคนพี่น้อง ที่นายชิด นางจวง พ่อและแม่ ต่างเป็นชนชั้นแรงงาน ต้องอพยพร่อนเร่ จนมาปักหลักอยู่ในพื้นที่รกร้างย่านคลองประปา ในเขตตำบลบางซ่อน ณ เวลานั้นทำให้ได้เห็นภาพชีวิตในยุคสมัยนั้น ไม่ต่างกับจิตรกรเอกผู้ระบายภาพและแปรเฉดสีอันเพริศแพร้วให้ผู้อ่านได้สัมผัสเป็นรสแห่งตัวอักษร” หมอกมุงเมือง เขียนถึงสุวรรณี ผ่านคอลัมน์บรรณาภิรมย์ ของเว็บไซต์อ่านเอา (anowl) 

บรรณานุกรม
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ฆ่าโหดเจ้าของนิยายพระจันทร์สีน้ำเงิน แทงในเก๋ง-ทิ้งศพสนามแข่ง ย้อนรอย 34 ปีก่อน. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1196125
ประพันธสาส์น. (2567). ทำเนียบนักประพันธ์ สุวรรณี สุคนธา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567, จาก
https://www.praphansarn.com/home/detail_author_th/362

ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน. (มปป.). อนุสรณ์งานศพ สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง. กรุงเทพฯ: บูรพาคอมพิว.
พงศกร. (มปป.). สุวรรณี สุคนธา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://anowl.co/anowlrod/readclassic/part29/
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ. (มปป.). ภาพเหมือน ‘สุวรรณี สุคนธา’ โดย ทวี นันทขว้าง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567, จาก
https://www.finearts.go.th/museumnationalgallery/view/39781-ภาพเหมือน–สุวรรณี-สุคนธา–โดย-ทวี-นันทขว้าง

หมอกมุงเมือง. (มปป.). สายบ่หยุดเสน่ห์หาย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://anowl.co/anowlrod/ban-naa-pi-rom/pirom017/

Loading