ประวัติและผลงาน ร.ต.ประโยชน์ ลูกพลับ

คุณลุงประโยชน์  หรือ ร.ต.ประโยชน์  ลูกพลับ ถือว่าเป็นปรมาจารย์ของการเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในจังหวัดพิษณุโลก นอกจากความสามารถในการเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละแล้ว ยังมีความสามารถในการทำกลอง และเครื่องดนตรีมังคละ สอนได้ทั้งการเล่นดนตรีมังคละและการทำกลองมังคละ ปัจจุบันในจังหวัดพิษณุโลกคงเหลือ ร.ต.ประโยชน์  ลูกพลับ เพียงคนเดียวที่ยังเป็นผู้ทำกลองมังคละอยู่

ลุงประโยชน์  ลูกพลับ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2495  เกิดในครอบครัวชาวนา เป็นบุตรของคุณพ่อทองอยู่  ลูกพลับ ซึ่งได้รับรางวัลคนดีศรีพิษณุโลก ในปี พ.ศ.2540 และคุณแม่เฉลิม  ลูกพลับ มีพี่น้องรวม 4 คน ได้มาเล่นและรับการถ่ายทอดดนตรีมังคละตอนอายุ 40 ปี เนื่องจากสงสารคุณพ่อ เมื่อท่านป่วย สุขภาพไม่ดี กระทั่งรับราชการทหารมาจนถึงอายุ 58 ปี จึงได้ลาออกจากราชการทหาร เพื่อมาอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอย่างเต็มตัว ได้มีการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ เพราะมองว่าดนตรีมังคละมีแนวโน้มที่จะค่อยๆ สูญหาย จึงได้ตั้งชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละขึ้น มีการชักชวนครูเพลงเก่าๆ ในรุ่นของคุณพ่อที่รู้จักและนับถือมาเข้าร่วมชมรม แต่ไม่ได้รับความสนใจอย่างเต็มที่เนื่องจากอายุและภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละท่าน แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจในการสืบทอดดนตรีมังคละ ต้องการถ่ายทอดให้เด็กรุ่นหลังได้นำไปต่อยอด  เพื่อรักษาดนตรีที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก จึงได้เปิดบ้านของตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้ที่รู้แล้วหรือยังไม่รู้เกี่ยวกับดนตรีมังคละมาทำการศึกษา และมาฝึกเล่นดนตรีมังคละตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงขั้นที่แสดงเป็นอาชีพได้ สอนตั้งแต่เด็กอายุ 9 ปี จนถึงระดับมหาวิทยาลัย สอนทั้งในและนอกสถานที่  สอนการเล่นดนตรีมังคละแนะนำเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ความสำคัญและที่มาของดนตรีมังคละ การปฏิบัติต่อเครื่องดนตรี ตลอดจนการเก็บรักษาเครื่องดนตรี และการทำกลองมังคละ โดยเครื่องดนตรีมังคละที่ทำการผลิตและถ่ายทอดวิธีการผลิตให้กับลูกศิษย์ ได้แก่ 1) กลองมังคละหรือกลองโกรก 2) กลองสองหน้า แบ่งเป็น กลองยืน และกลองหลอน เพื่อจะได้เป็นการช่วยสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นศิลปะดนตรีแขนงนี้  จึงได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทำงานร่วมกับบุคลากรในตำแหน่งหน้าที่การงานต่างๆ รับเป็นที่ปรึกษาและถ่ายทอดดนตรีให้กับโรงเรียนต่างๆที่สนใจ รวมไปถึงมหาวิทยาลัยและสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อจะได้ช่วยผลักดันดนตรีมังคละทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะผู้ทำกลองมังคละและอนุรักษ์ดนตรีมังคละของจังหวัดพิษณุโลกมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ ลุงประโยชน์  ลูกพลับ ได้ทำเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม ท่านทำโดยไม่รู้สึกเหนื่อยเพราะเป็นสิ่งที่ใจรัก ปัญหาและอุปสรรคเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น  แต่ก็พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์และบทบาทหน้าที่ ท่านกล่าวว่า

ลุงประโยชน์  ลูกพลับ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2495 ปีมะโรง เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เกิดในครอบครัวชาวนา เป็นบุตรของคุณพ่อทองอยู่ ลูกพลับ ซึ่งได้รับรางวัลคนดีศรีพิษณุโลก ในปี พ.ศ.2540 กับคุณแม่เฉลิม ลูกพลับ เกิดที่บ้านปากโทก ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้สมรสกับนางกาณจนพร  ลูกพลับ รับราชการครู(ปัจจุบันข้าราชการบำนาญ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายชาญยุทธ  ลูกพลับ รับราชการเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนท่าทองพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และนางสาวพนัสญา  ลูกพลับ เป็นครูโรงเรียนวัดหนองพะยอม ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 34/4 หมู่ 4 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ลุงประโยชน์  ลูกพลับ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดจอมทอง จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนบ้านกร่าง พระขาวชัยสิทธิ์ ศึกษาต่อที่โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีพ.ศ.2510  และไปศึกษาต่อ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนนวลนรผล หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานครที่โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมืองอีก 2 ปี และรับราชการทหารมาจนถึงอายุ 58 ปี จึงได้ขอลาออกจากราชการทหาร เพื่ออนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละอย่างเต็มตัว จากการที่ได้เรียนรู้เรื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละต่อจากคุณพ่อทองอยู่ ลูกพลับ ในการประดิษฐ์เครื่องดนตรี ตลอดจนต้องถ่ายทอดดนตรีมังคละแก่เยาวชนและบุคคลที่สนใจจนถึงปัจจุบัน

– อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง
– ประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละ
– แสดงดนตรีพื้นบ้านมังคละ
– ประธานชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละ จังหวัดพิษณุโลก

  • วิทยากรพิเศษในสถานที่ศึกษาต่างๆ ในเรื่องดนตรีพื้นบ้านมังคละ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, วิทยาลัยพยาบาล พิษณุโลก, มหาวิทยาลัยนเรศวร, โรงเรียนวัดศรีรัตนาราม. โรงเรียนวัดจอมทอง, โรงเรียนวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์, โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา อำเภอวัดโบสถ์, โรงเรียนสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ, โรงเรียนวัดหางไหล อำเภอพรหมพิราม, โรงเรียนตากฟ้าวิทยา จังหวัดนครสวรรค์, โรงเรียนในเครือข่ายวัดโบสถ์ 3

– ที่ปรึกษาในสถานศึกษาต่างๆ
– กรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนจอมทอง
– กรรมการสภาวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก
ฯลฯ

พ.ศ. 2548 รางวัล “เมืองไทยเมืองคนดี”ผู้ดำรงตนอยู่ในคุณธรรมจริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ภายใต้โครงการเมืองไทยเมืองคนดี จากกรมการศาสนา กระทรวง วัฒนธรรม

พ.ศ. 2549 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 1 ประเภทวงมังคละ

พ.ศ. 2550 รางวัล “ดุริยางคศิลป์นเรศวร” ในสาขาศิลปินพื้นบ้าน

พ.ศ. 2550 ได้รับฉันทามติจากมวลสมาชิกเครือข่ายวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาวัฒนธรรมวังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติบัตรผู้ส่งเสริม สนับสนุน งานด้านวัฒนธรรม จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2550 รางวัล “ดุริยางคศิลป์นเรศวร” ครั้งที่ 1

พ.ศ. 2551 รางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านมังคละ)

พ.ศ. 2551 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดจอมทอง

พ.ศ. 2551 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรโครงการอบรมตัดกระดาษรังผึ้ง และการถ่ายทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละ

พ.ศ. 2552 ได้รับโล่รางวัล บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดง (ประเภทดนตรีไทย) ของจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับสภาวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2553 เป็นศิลปินพื้นบ้าน สาขาช่างฝีมือพื้นบ้านการทำกลองประกอบดนตรีมังคละ ของจังหวัดพิษณุโลก
“งานภูมิปัญญาพิษณุโลก แดนสี่แยกอินโดจีน” วัฒนธรรมสรรค์สร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของกระทรวงวัฒนธรรม

พ.ศ. 2554 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรให้การอบรม “การเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละ” จากศูนย์เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย 4

พ.ศ. 2555 ได้รับเกียรติบัตรการร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้กับครูและนักเรียน โครงการภูมิ    ปัญญาสู่โรงเรียน จากโรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง จังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดิน จังหวัดพิษณุโลก โครงการแทนคุณแผ่นดิน

พ.ศ. 2559 ได้รับโล่รางวัลจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในโครงการบูรณาการศิลปะวัฒนธรรมและเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น

พ.ศ. 2560 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรม อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน (มังคละ)
จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก และชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก

พ.ศ. 2561 ได้รับเกียรติบัตรผ่านการอบรมเยาวชนอนุรักษ์การตีกลองภาคเหนือ รุ่นที่ 3

พ.ศ. 2561 ได้รับคัดเลือกตามโครงการปราชญ์แห่งศิลป์บนแผ่นดินเมืองสองแคว ด้านศิลปะการแสดง (ดนตรี)

พ.ศ. 2562 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรผู้สืบสานและอนุรักษ์ดนตรีมังคละ จังหวัดพิษณุโลก โครงการรักษ์มังคละ

พ.ศ. 2564 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการดนตรีพื้นบ้านมังคละ จังหวัดพิษณุโลก (ระดับจังหวัด)

พ.ศ. 2565 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น มรดกทางวัฒนธรรม “ศรีสุวรรณภิงคาร” ประจำปี 2565

พ.ศ. 2565 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลกให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์

พ.ศ. 2566 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง “ดนตรีมังคละ และการทำกลองมังคละ”
ในโครงการศึกษาดูงานภาคสนามของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พ.ศ. 2566 ได้รับรางวัล “ภูมิราชภัฏ” จากสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2567 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีพื้นบ้านมังคละ ในโครงการเสวนาดนตรีพื้นบ้าน “มังคละเภรีวิถีอาณาจักรสุโขทัย”

ไทยบันเทิง “ประโยชน์ ลูกพลับ” ผู้สืบสานมังคละ รับชม https://www.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/2112574565564736

ไหว้ครูมังคละ จังหวัดพิษณุโลก ที่บ้านครูเพลง ประโยชน์ ลูกพลับ รับชม https://www.youtube.com/watch?v=eqtFKxrFNSs

รายการ แทนคุณแผ่นดิน ตอน ดนตรีมังคละ#1 (18 ต.ค.58) รับชม https://www.youtube.com/watch?v=DsRAaH2ssjk

รายการ แทนคุณแผ่นดิน ตอน ดนตรีมังคละ#2 (25 ต.ค.58) รับชม https://www.youtube.com/watch?v=yxrgjAIqffg

การทำกลองมังคละ รับชม https://www.youtube.com/watch?v=msE5GbWCl9A

วีดิทัศน์ดนตรีมังคละ รับชม https://www.youtube.com/watch?v=PvJzS7Z8o_4

สารคดีกลองมังคละ Version Thai รับชม https://www.youtube.com/watch?v=kJLjnJJ0N_A

facebook ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก https://www.facebook.com/profile.php?id=100063569829956

ํyoutube ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก youtube.com/channel/UCkX_WtU5e0wPGZ_ePJdd_Xg

Loading

Scroll to Top